อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี

ประวัติ

พระนครคีรีเป็นพระราชวังที่ประทับในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยเป็นพระราชวังฤดูร้อนโดยมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)เป็นแม่กองในการก่อสร้างโดยก่อสร้างแล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2403 โดยพระนครคีรีแบ่งออกเป็นเขตพระราชฐานต่างๆดังนี้
เขตพระราชฐานชั้นนอก เป็นยอดเขาด้านหน้าเป็นที่ตั้งของกรมกองต่างๆของทางราชการซึ่งตามเสด็จ เขตพระราชฐานชั้นกลางและชั้นใน เป็นยอดเขาตรงกลางและด้านในเป็นที่ตั้งของพระราชมณเฑียรที่ประทับของทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายในรวมทั้งข้าราชบริพาร
พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์

พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ เป็นพระที่นั่งองค์แรกของพระราชวังโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยทรงเสด็จมาวางศิลาฤกษ์ด้วยพระองค์เองในวันที่7 กรกฎาคม พ.ศ. 2402 เป็นพระที่นั่งองค์ประธานของหมู่พระที่นั่งต่างๆในพระราชวัง ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบยุโรปผสมไทยและจีนผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีมุขยื่นออกไปด้านข้างสองด้านทั้งซ้ายและขวาภายในแบ่งเป็นห้องต่างๆต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าให้ดัดแปลงท้องพระโรงหลังเป็นห้องพระบรรทม ท้องพระโรงหน้าดัดแปลงเป็นหัองเสวยมุขด้านทิศตะวันออกดัดแปลงเป็นห้องทรงพระสำราญและมุขด้านทิศตะวันตกดัดแปลงเป็นห้องลงพระบังคนปัจจุบันใช้เป็นที่จัดแสดงโบราณวัตถุและเครื่องเรือนต่างๆโดยพระที่นั่งองค์นี้เคยเป็นสถานที่รับรองพระราชอาคันตุกะเช่น ดยุคโยฮันอัลเบรกต์ แห่งเยอรมนีและเจ้าหญิงอลิสซาเบตสโตลเบิร์กรอซซาลา พระชายา
พระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์

พระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์ ตั้งอยู่ติดกับพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์มีฐานและหลังคาเชื่อมต่อกันมีลักษณะแบบเก๋งจีน2ชั้น ชั้นบนมีห้องบรรทม2ห้อง ชั้นล่างมีห้องโถง2ห้องทางขึ้นอยู่ด้านหน้ามีชายคาคลุมเป็นบันไดแนบตึก2ด้าน ปัจจุบันจัดแสดงพระแท่นบรรทมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท

พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นปราสาทจตุรมุข ยอดปรางค์ 5 ยอด ตามพระราชนิยมในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มียอดปรางค์ใหญ่อยู่กลาง และปรางค์เล็กอยู่ 4 มุม บนฐานสูงซ้อนกัน 3 ชั้น มีระเบียงแก้วโดยรอบแต่ละชั้น ระเบียงชั้นบนสุดมีโดมโปร่งที่มุมทั้งสี่ ตัวปราสาทประดับลายปูนปั้น ภายในประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หล่อด้วยสำริด ทรงฉลองพระองค์แบบตามพระราชนิยม ทรงพระมาลาสก๊อต พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบ พระหัตถ์ซ้ายทรงสมุดหนังสือ ทรงยืนใต้นพปฎลเศวตฉัตร จากพระที่นั่งองค์นี้มีประตูออกไปสู่ พระที่นั่งราชธรรมสภา
พระที่นั่งราชธรรมสภา

พระที่นั่งราชธรรมสภา เป็นอาคารชั้นเดียว ศิลปะผสมระหว่างศิลปะยุโรป จีน และไทย หลังคาเป็นแบบเก๋งจีนในรัชกาลที่ 4 ทรงใช้เป็นที่ประชุมส่วนพระองค์บรรยายธรรมะถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ดัดแปลงเป็นห้องเสวยสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ที่ตามเสด็จ ในปัจจุบันใช้เป็นอาคารแสดงนิทรรศการ จุดเด่นจะอยู่ตรงประตูบ้านโค้งสีเขียว ตัดกับผนังสีขาวที่มีลายปูนปั้นสวยงามภายในมีโต๊ะหมู่บูชาสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป
ลีลาเจดีย์แดง
หมู่พระที่นั่งสันถาคารสถาน

หมู่พระที่นั่งสันถาคารสถาน เป็นหมู่พระที่นั่งของพระราชวังตั้งอยู่บริเวณทางลาดขึ้นพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมอาคารขนาดใหญ่ตั้งอยู่ตรงกลางและล้อมรอบไปด้วยอาคารขนาดเล็กภายในมีชานเชื่อมต่อกันบันไดทางขึ้นตั้งอยู่ด้านนอกโดยองค์พระที่นั่งเป็นพระที่นั่ง2ชั้นสถาปัตยกรรมแบบประยุกต์ตะวันตกสันหลังคาเป็นแบบจีนมุงกระเบื้องกาบกล้วย พระที่นั่งองค์กลางแบ่งได้2ส่วนคือ
สำหรับเป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายใน พระราชโอรส-พระราชธิดา ต่อมาใช้เป็นสถานที่รับรองพระราชอาคันตุกะ โดยพระที่นั่งองค์นี้มีมุขด้านหน้าสำหรับประทับทอดพระเนตรการแสดงละคร
หอชัชวาลเวียงชัย

ลักษณะเป็นหอทรงกลมสูงคล้ายกระโจมไฟ มีบันไดเวียนสำหรับเดินขึ้น-ลง ชั้นบนรอบนอกเป็นระเบียงซึ่งประดับด้วยลูกกรงแก้ว หลังคาเป็นรูปโดมมุงด้วยกระจกโค้งภายในมีโคมไฟห้อย ซึ่งกลางคืนจะมองเห็นแสงไฟไกลไปถึงชายทะเล และเมื่อนักท่องเที่ยวขึ้นไปชมบนหอชัชวาลเวียงชัยแห่งนี้แล้ว ก็จะมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบของเมืองเพชรบุรี
หอพิมานเพชรมเหศวร์

หอพิมานเพชรมเหศวร์ ตั้งอยู่บนยอดเขาเล็ก ๆ หน้าพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ เป็นหอขนาดเล็ก ๓ หอ หอกลางมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ หอด้านขวาเป็นศาลเทพารักษ์ หรือที่เรียกกันว่าศาลพระภูมิเจ้าที่ หอด้านซ้ายใช้เป็นที่ประโคมสังคีตหอพิมานเพชรมเหศวร์ นี้เคยใช้เป็นที่ประกอบพิธีโสกันต์ ที่หอกลางใหญ่ได้กั้นผนังไว้สำหรับใช้เป็นห้องบรรทมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในวันที่พระองค์ทรงถืออุโบสถศีล ขณะที่ประทับอยู่ที่พระราชวังแห่งนี้ เช่นเดียวกับหอเสถียรธรรมปริต ในพระบรมมหาราชวังโดยหอแห่งนี้เคยใช้ประกอบพระราชพิธีโสกันต์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ พระราชธิดาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาแพ และ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามัณยาภาธร พระราชธิดาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาจันทร์
หอจตุเวทปริตพัจน์
หอจตุเวทปริตพัจน์ ตั้งอยู่ใกล้กับพระอุโบสถวัดพระแก้วลักษณะคล้ายกับศาลาการเปรียญเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล
วัดมหาสมณารามราชวรวิหาร
วัดมหาสมณาราม ตั้งอยู่ในเขตตำบลคลองกระแชง อำเภอเมือง ฯ เดิมชื่อวัดสมณะ หรือวัดมหาสมณ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาประทับเมื่อครั้งยังทรงผนวชอยู่ ต่อมาเมื่อได้สร้างพระนครคีรีแล้ว จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้บูรณะวัดแห่งนี้ พระราชทานนามว่า วัดมหาสมณาราม แต่ประชาชนทั่วไปเรียกว่า วัดเขาวัง เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร อุโบสถวัดมหาสมณาราม ฯ ภาพจิตรกรรมในพระอุโบสถเขียนด้วยสีฝุ่น กล่าวกันว่าเป็นฝีมือของ ขรัวอินโข่ง จิตรกรเอกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การเขียนภาพของขรัวอินโข่งมีลักษณะเฉพาะตัวคือ จะวางภาพเต็มพื้นที่ทั้งหมด ไม่มีภาพเทพชุมนุมเรียงเป็นแถวแบบเดิม มีแต่ภาพเหล่าเทวดานางฟ้า ปรากฏตามก้อนเมฆบ้าง ภาพที่เขียนจะอยู่ในเนื้อเดียวกันทั้งหมด จะมีการแบ่งภาพเป็นตอน ๆ ฉากหลังมักเป็นภาพธรรมชาติป่าเขาลำเนาไพร ผนังหน้าพระอุโบสถ เขียนภาพการเดินทางไปนมัสการพระพุทธบาท ถือว่าเป็นภาพชิ้นเยี่ยมของพระอุโบสถประกอบด้วยทิวทัศน์อันงดงาม มณฑปพระพุทธบาทตั้งอยู่บนไหล่เขาซึ่งอุดมไกด้วยต้นไม้นานาชนิด เบื้องล่างเป็นภาพที่มีความงามตามธรรมชาติ มีการจัดภาพอย่างงดงามลงตัว เป็นประโยชน์ในการศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณี

1. โดยรถยนต์ส่วนตัว
จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 (สายธนบุรี-ปากท่อ) ผ่านสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และอำเภอปากท่อ แล้วแยกเข้าทางหลวง หมายเลข 4 ไปจังหวัดเพชรบุรี รวมระยะทางประมาณ 123 กิโลเมตร หรือจากกรุงเทพฯ เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านนครปฐม ราชบุรี ไปยังเพชรบุรี เป็นระยะทาง 166 กิโลเมตร เขาวัง อยู่ริม ถ.เพชรเกษมสายเก่า (ทางเข้าตัวเมือง)
2. โดยรถสาธารณะ
สามารถโดยทัวร์หรือรถตู้ที่จะเข้าตัวเมืองหัวหิน ชะอำ หรือเมืองเพชรบุรีแล้วลงระหว่างทางได้

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1415970124&grpid=&catid=19&subcatid=1906